Safe Zone 4.2 – งานเสวนา Safe Therapy ครึ่งหลัง “ในจิตบำบัด อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้”

“Safe Therapy: ในจิตบำบัด อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้” เคยสงสัยกันไหมคะว่า ผู้รับการบำบัดจะเป็นแฟนกับนักจิตวิทยาการปรึกษา นักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์ของตัวเองได้ไหม การแตะเนื้อต้องตัวผู้รับบริการด้านสุขภาพจิตหรือการส่งข้อความแชทถึงกันนอกเวลาแบบไหนที่อาจนับว่ายังเหมาะสม แบบไหนที่ประชาชนคนทั่วไปอย่างเราต้องเริ่ม “เอ๊ะ” ว่ามันแปลกๆ และอาจล้ำเส้นไปสู่การละเมิดหรือฉวยประโยชน์ทางเพศ เราไม่ได้เรียนเรื่องจิตวิทยามา เราเลยอาจไม่เท่าทันผู้ประกอบอาชีพนี้บางคนที่จงใจแสวงหาผลประโยชน์จากเราที่กำลังเปราะบาง ต้องการที่พึ่งอยู่ นักวิชาชีพที่มีจรรยาบรรณและความสามารถมีสัดส่วนเยอะกว่าคนที่ไม่มี แต่นักวิชาชีพแค่คนเดียวที่ละเมิดจรรยาบรรณก็สร้างความเสียหายรุนแรงให้กับสังคมได้มากแล้ว และเราไม่ควรยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นต่อไป ในพอดแคสต์ตอนนี้ นักวิชาชีพจาก 4 สาขาการดูแลสุขภาพจิต (จิตแพทย์ จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการปรึกษา และศิลปะบำบัด) ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวงการจิตบำบัดที่มีคุณภาพและปลอดภัย มาร่วมไขข้อข้องใจของอาบัน สามัญชน ว่าสิ่งใดทำได้ และสิ่งใดที่อาจต้องพิจารณาว่ายังสอดคล้องกับการรักษาเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของคนไข้/ผู้รับบริการอยู่หรือเปล่า นอกจากนี้ ในช่วงแรก เรายังได้พูดคุยกับตัวแทนจากกรมสุขภาพจิต แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถี และมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ ว่าส่งผลกระทบมหาศาลทั้งในระดับบุคคลและสังคมอย่างไร มีที่มาอย่างไร และแต่ละหน่วยงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้อย่างไร แม้ปัญหาความรุนแรงด้วนเหตุแห่งเพศจะร้ายแรง แต่เรามีความหวังเสมอค่ะ ความหวังในการเรียกร้องกฎหมายและนโยบายปกป้องคุ้มครองผู้รับบริการด้านสุขภาพจิต มาร่วมกันทำให้นักวิชาชีพดีๆ มีกำลังใจในการช่วยเหลือจิตใจผู้คนต่อไปด้วยการทำให้มาตรฐานและความปลอดภัยสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมทำแบบสอบถามสนุกๆ ก่อนฟังรายการ เพื่อสำรวจความคิดตัวเองว่าการกระทำไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม https://app.sli.do/event/bnq8UFUDJDmn58Drj9sE7P และฟังจบแล้ว ชวนมาแชร์ความเห็นกันค่ะว่าจิตบำบัดที่ปลอดภัยมีหน้าตาเป็นอย่างไรกันนะ […]

Safe Zone 4.1 – งานเสวนา Safe Therapy ครึ่งแรก “ภาพรวมปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ”

กิจกรรม Safe Zone Talk: Safe Therapy อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 กิจกรรมครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับมุมมองเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญและนักจิตวิทยาในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ช่วงที่ 1 “ผลกระทบจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ: การป้องกันและช่วยเหลือ” ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณอังคนา อินทสา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล, ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ และ นพ.พงศกร เล็งดี ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต ที่ได้ช่วยเปิดมุมมองถึงผลกระทบที่เกิดจากความรุนแรงที่ส่งผลเสียอย่างลึกซึ้งต่อทุกด้านของชีวิต การป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่การสร้างความตระหนักรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ไปจนถึงการจัดการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ช่วงที่ 2 “Safe Therapy ในจิตบำบัด: อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้” ดร.กุลวดี ทองไพบูลย์ นักจิตวิทยาคลินิกอิสระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณฐวัฒน์ ล่องทอง อาจารย์ภาควิชาจิตวิยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นพ.ธิติ ภัคดุรงค์ จิตแพทย์ […]

WiTcast Special – คุยซีรีส์ Netflix อนาคต (Tomorrow and i) กับผู้สร้าง พีพี พัทน์ ภัทรนุธาพร

  0:00 เริ่ม ทักทาย เกริ่นถึงภาพรวมซีรีส์ อนาคต 27:22 คุยสปอย ตอน 1 Black Sheep นิราศแกะดำ 1:12:10 คุยสปอย ตอน 2 Paradistopia เทคโนโยนี 1:59:31 คุยสปอย ตอน 3 Bhuda Data ศาสดาต้า 2:36:53 พีพีเล่าแรงบันดาลใจจากคุณ Jonathan Nolan 2:45:01 คุยสปอย ตอน 4 Octopus Girl เด็กหญิงปลาหมึก

Safe Zone ep.3 – อาบันไม่โอเค: วิธีล่อลวงเข้าลัทธิ เคส 7M TikTok cult

Safe Zone ep.3 – อาบันไม่โอเค: ตีแผ่วิธีล่อลวงเข้าลัทธิ เคส 7M tiktok cult อิงจากสารคดี Dancing for the Devil ทาง Netflix

WiT Drive 23 – พี่หมีกับอาบันไปเยือนฝรั่งเศส

Time Stamps 0:00 เริ่ม + ความประทับใจแรกต่อปารีส 10:29 เที่ยว Lourve และความรู้สึกต่อ Mona Lisa 27:16 เพิ่งมาถึงอีกเมืองชื่อ Vitré 34:00 เล่าย้อนเรื่องเดินชมสวน Jardin de Plantes ยามเช้า 42:53 เล่าย้อนไปกินโอโคโนมิยากิ + เที่ยว Montmartre + ประสบการณ์ส้วมเบร้อ 56:55 ความประทับใจ Vitré วันแรก กินเครป + คุยเรื่องชาวฝรั่งเศสไม่ค่อยเล่นมือถือ 1:12:33 อาบันเล่าเรื่องงานที่มาจัด workshop ด้านวัฒนธรรม 1:20:08 อาหมีเล่าความประทับใจไปเดินเล่นคนเดียวในเมือง 1:38:28 Vitré วันที่สอง เกร็ดประวัติศาสตร์ + การกินเครปอีกแล้ว 1:50:03 อาบันเล่าประสบการณ์จัด workshop 2:06:33 กลับมาปารีสอีกรอบ เดินจากโรงแรมไปมิวเซียม เล่าประสบการณ์เบร้อเล็กๆ เรื่องของกิน […]

WiTcast Special – “จิตวิทยาและสมอง เพื่อคนเมือง” เสวนาจากงาน WiT in BKK 2024

“จิตวิทยาและสมอง เพื่อคนเมือง” โดย ดร. นพ.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์, เรืองริน อักษรานุเคราะห์ และวีรธัช พงษ์เรืองเกียรติ คนกรุงฯ ควรดูแลสุขภาพจิตกันอย่างไร? ทำไมเมืองใหญ่ทำให้คนเหงา? สมองของเราละเอียดอ่อนและเปราะบางเพียงใด? มาร่วมหาคำตอบไปด้วยกันกับเหล่าวิทยากรมากประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญทั้งประสาทวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา!  

WiT Drive 22 – อาบันรีวิวการตรวจมะเร็งเต้านม

  อ้างอิงข้อมูลงานวิจัยที่บอกว่า สภาพจิตไม่ส่งผลต่อการเป็นหรือลุกลามของมะเร็ง –1,2,3

Brain Code Cast Ep.6 – เรียนนิวโรไปทำไร? การใช้ความรู้สมองในสาขาอาชีพต่างๆ

ข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการ BrainCode 101 https://braincode101.github.io/ ฟัง podcast จบ ชวนไปลงลึกยิ่งขึ้นกับคอร์ส Brain Building Block ทางช่อง @brainCode101 และถ้าสนใจมาเข้าค่าย brainCodeCamp เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่ 16 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2566 https://braincodecamp.web.app/   ชื่อจริงแขกรับเชิญ หมอกิ๊ก : ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ อ.ปอล : ลลิตตา สุริยาอรุณโรจน์ พิธีกร : แทนไท ประเสริฐกุล, อาบัน สามัญชน   งานนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม This research has received funding support from the NSRF via […]

Brain Code Cast Ep.5 (ครึ่งหลัง) – สมองกับ AI / เด็กไทย / ร่างหุ่นยนต์/ ความเป็นมนุษย์

ตามไปดูรายละเอียดกิจกรรม AI-Builders ได้ที่ https://ai-builders.github.io/ ดูโปรเจ็คของเด็กรุ่นก่อนๆ https://ai-builders.github.io/showcase ข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการ BrainCode 101 https://braincode101.github.io/ ฟัง podcast จบ ชวนไปลงลึกยิ่งขึ้นกับคอร์ส Brain Building Block ทางช่องยูทูบ @brainCode101 ดำเนินรายการ หมอกิ๊ก : ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ : แทนไท ประเสริฐกุล : อาบัน สามัญชน แขกรับเชิญ อ.มาย ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์, อ.ธิป ธิปรัชต์ โชติบุตร งานนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม This research has received funding support from the NSRF via the Program Management […]

1 2 3 12