WiTThai – s01e10 “โรคาวิวัฒน์” กับ อ.อิศรางค์ นุชประยูร

WiTThai ตอนนี้เป็นการเดินทางไปสัมภาษณ์ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในหัวข้อเรื่องความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างโรคมาลาเรีย ธาลัสซีเมีย และภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD นอกจากนี้อาจารย์อิศรางค์ยังถ่ายทอดข้อคิดและประสบการณ์ในการทำงานวิจัย ตลอดจนการช่วยผู้ป่วยเด็กให้มองเห็นคุณค่าของชีวิต แทนที่จะท้อแท้ไปกับความเจ็บป่วยซึ่งเลือกเกิดไม่ได้ งานวิจัยที่พูดถึงในตอนนี้ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในงานวิจัยเด่นของสกว. ประจำปี 2553 Timestamp เริ่ม-ทักทาย เกริ่นนำ WiTThai 1:01-ภาพรวม WitThai ตอน “โรคาวิวัฒน์” กับ อ.อิศรางค์ นุชประยูร 1:53-เพลง WiTThai 3:52-แนะนำตัวทีมงาน และรายการ 7:02-มาลาเรีย (Malaria) 27:47-ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) 36:00-ความสัมพันธ์ระหว่างธาลัสซีเมีย และมาลาเรีย 48:55-ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) 1:12:59-ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD และมาลาเรีย 1:18:07-ฐานข้อมูลกับการทำวิจัย / งานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Science 1:21:23-การทำงานวิจัยของ อ.อิศรางค์ นุชประยูร 1:26:18-โรคมะเร็งในเด็ก 1:28:24-เก็บกวาด WiTThai […]

WiTThai – s01e09 “Bio-Physics” มหัศจรรย์แสงส่องสาร กับสมบัติลับของ DNA – ft. อ.เก่ง ชิตนนท์ บูรณชัย

SHOW NOTE WiTThai ตอนนี้ ฟีเจอริ่งผลงานของอ.เก่ง ชิตนนท์ บูรณชัย แห่งภาควิชาฟิสิกส์ ม.สงขลานครินทร์ นะฮะ คำบรรยายเวอร์ชั่นทางการ WiTThai ตอนนี้เป็นตอนที่บันทึกบทสนทนาระหว่างผู้ดำเนินรายการแทนไท ประเสริฐกุล กับผศ.ดร. ชิตนนท์ บูรณชัย ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บทสนทนาเกิดขึ้นระหว่างกิจกรรมค่ายพสวท. ที่หาดใหญ่ในเดือนกรกฎาคม 2559 จากนั้นได้นำเสียงที่บันทึกไว้มาเปิดให้ผู้ร่วมดำเนินรายการอีกสองท่านฟังเพื่อร่วมกันพูดคุยเพิ่มเติม แล้วจึงตัดต่อเป็นรายการ WiTThai ออกมา เนื้อหาของตอนนี้ไล่เรียงตั้งแต่ การเปิดโลกสาขาวิชาไบโอฟิสิกส์ให้คนทั่วไปได้รู้จักในเบื้องต้น การนำความรู้เรื่องแสงฟลูออเรสเซนต์มาประยุกต์ใช้ศึกษาพฤติกรรมของชีวโมเลกุลอย่างโปรตีนหรือดีเอ็นเอ (เทคนิกที่ชื่อว่า Single Molecule FRET) จากนั้นอ.ชิตนนท์ ได้เล่าต่อถึงงานวิจัยที่ทำอยู่ ซึ่งเกี่ยวกับการนำดีเอนเอสายสั้นๆ ที่ขดเป็นรูปร่างต่างๆ (aptamers)  มาประยุกต์ใช้ในการตรวจจับสาร เช่น ปรอท ซึ่งอาจารย์ได้เรียกลักษณะงานประเภทนี้ว่าการออกแบบไบโอเซ็นเซอร์  อ.ชิตนนท์เล่าถึงความยากลำบากในช่วงที่กลับมาจากต่างประเทศใหม่ๆ แล้วยังไม่มีทุนวิจัย ทำให้ต้องมีวิธีการคิดพลิกแพลงแก้ปัญหาจนกระทั่งได้รับทุนจากสกว.ในเวลาต่อมา WiTcast ภูมิใจเสนอ#WiTThai – s01e09 ตอน Bio-Physics – มหัศจรรย์แสงส่องสาร กับสมบัติลับของ DNA […]

WiTThai – s01e07 “พยาธิไทย” กับอ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์

WiTThai ตอนนี้ไปสัมภาษณ์อ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ เรื่องพยาธิ ที่ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่นครับ ^ ^ ถือเป็นตอนที่พีคสุดตอนหนึ่งของ WiTThai เพราะอาจารย์เล่าสนุกมากกกก และน้องๆ พยาธิสยองมากกกก Timestamp เริ่ม-intro 3:37-ช่วงที่ 1 พูดคุยรีแล็กซ์กับอาจารย์ผิวพรรณ จากนั้นเข้าเรื่องพยาธิตัวกลม เช่นพยาธิไส้เดือน สตรองกิหลอย ปากขอ ปวดหัวหอย และอื่นๆ อธิบายทำไมบางตัวอยู่ในไส้อย่างเจียมตัว แต่บางตัวชอบไชขึ้นสมองอย่างสยอง 43:04-ช่วงสองยิงคำถาม กินปลาดิบญี่ปุ่นเสี่ยงพยาธิมั้ย ? แล้วจะรู้ได้ไงว่าเรามีพยาธิหรือเปล่า? ความดีงามของชุดตรวจที่คณะวิจัยของอาจารย์พัฒนาขึ้น ต่อด้วยจารย์เล่าเคสสนุกๆ จากประสบการณ์ 1:23:41-ช่วงสาม มาดูความน่ารักของพยาธิตัวตืดกับใบไม้บ้าง ปิดท้ายด้วยข้อคิดและอุดมการณ์ของคนทำงานวิจัย SHOW NOTE WiTThai ตอนนี้ไปสัมภาษณ์อ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ เรื่องพยาธิ ที่ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่นครับ ^ ^ ผลงานชุดตรวจพยาธิ คลิปวิดิโออาจารย์พาทัวร์ห้องเก็บพยาธิ อ.ผิวพรรณ พาชมตู้เก็บพยาธิ ตึ๊งดึง ตึ๊งดึง วิดิโอพิเศษมาแล้วครับ […]

WiTThai – s01e06 “โอ้!-แอลอีดี (OLED) เทคโนโลยีอนาคต” กับอ.วินิช พรมอารักษ์ แห่งสถาบัน VISTEC

WiTThai ตอนนี้เดินทางไปสัมภาษณ์ ศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์ ที่สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จ.ระยอง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 หัวข้อสนทนาเริ่มจากปูพื้นฐานความเข้าใจเรื่องคุณสมบัติสารอินทรีย์ การนำไฟฟ้า และการเปล่งแสง จากนั้นจึงอธิบายการนำมาประยุกต์ใช้เป็นจอแสดงภาพ แถบให้แสงสว่าง รวมถึงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมีข้อดีเหนือเทคโนโลยีเก่าในแง่ความยืดหยุ่น ความใส และประสิทธิภาพอีกหลายด้าน จุดเด่นของตอนนี้อยู่ที่การได้ทำความเข้าใจเทคโนโลยีที่เราใช้กันอยู่ทุกวันทั้งในบ้านเรือนและอุปกรณ์สื่อสารพกพา ทำให้ได้รับทราบว่าคนไทยก็มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้เช่นกัน ตลอดจนได้มองคาดการณ์โลกอนาคตที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า นอกจากนี้อาจารย์วินิชยังได้เล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวตั้งแต่สมัยเริ่มต้นทำวิจัย จนถึงการได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบัน VISTEC และวิสัยทัศน์ในการฝึกฝนนักวิจัยรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต งานวิจัยที่กล่าวถึงในตอนนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในงานวิจัยเด่นของสกว. ปี2558 Timestamp 0:00 – intro 8:14 – เริ่มสัมภาษณ์ อ.เล่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีจอแสดงภาพจากหลอด Cathode มาจนถึง OLED (Organic LED) 17:06 – ปูพื้นเรื่องนิยามของสารอินทรีย์ 20:44 – การค้นพบสารย์อินทรีย์ที่มีสมบัตินำไฟฟ้าได้ ทั้งยังเปล่งแสงออกมาเมื่อได้รับพลังงาน 24:05 – ข้อดีของ Organic ยืดหยุ่น และเตรียมจากสารละลายได้ ขึ้นรูปสะดวก […]

WiTThai – s01e05 “ตุ้มซัง สังคมศาสตร์” กับพี่ตุ้ม เอกสิทธิ์ หนุนภักดี

แขกรับเชิญของ WiTThai ตอนนี้คือดร.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี (ชื่อเล่นพี่ตุ้มซัง) ตัวแทนนักวิชาการรุ่นใหม่ผู้มีบทบาทร่วมดูแลและประสานงานโครงการวิจัยต่างๆ ของสกว.ในสายสังคมศาสตร์มานานหลายปี การอัดเสียงสัมภาษณ์เกิดขึ้นที่ห้องอัดของทีมงาน WiTcast เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 สำหรับเนื้อหาในตอน ดร.เอกสิทธิ์ ได้อธิบายให้เห็นภาพรวมของแวดวงวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งปกติจะได้รับการพูดถึงน้อยกว่าด้านวิทยาศาสตร์ ประเด็นที่พูดไล่เรียงตั้งแต่สังคมศาสตร์คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร สกว.สนับสนุนงานวิจัยสังคมศาสตร์แบบไหน และมีหลักคิดในการเลือกสนับสนุนงานวิจัยอย่างไร จากนั้นจึงยกตัวอย่างโครงการวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคมมาก เช่น สันติวิธี ความรุนแรงและสังคมไทย โดยศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ การทุจริตจำนำข้าว การคอร์รัปชั่นกรณีศึกษา : โครงการจำนำข้าวทุกเมล็ด โดย รศ. ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และตัวอย่างสุดท้ายได้แก่โครงการที่ดร.เอกสิทธิ์เป็นผู้ดูแลเอง คือโครงการสันติไมตรีไทย-ญี่ปุ่น รายการตอนนี้นับเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้ฟังส่วนใหญ่ที่ไม่เคยรับทราบเกี่ยวกับงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ตลอดจนบทบาทของสกว.ในส่วนนี้มาก่อน SHOW NOTE WiTThai ตอนนี้ฟีเจอริ่งพี่ตุ้มซัง เอกสิทธิ์ หนุนภักดี ในฐานะนักวิชาการสายสังคมศาสตร์ (Social Science) ที่ดูแลโครงการวิจัย+ช่วยประสานงานให้สกว.อยู่นะฮะ ฟังพี่ตุ้มเล่าตั้งแต่ภาพกว้าง สังคมศาสตร์คืออะไร กำเนิดมายังไง ครอบคลุมอะไรบ้าง จากนั้นพรรณนาเรื่อยไปถึงความน้อยเนื้อต่ำใจของนักสังคมศาสตร์ ถกเถียงประเด็นคุณค่างานวิจัยสำคัญที่ตรงไหน ทำไมต้องสนับสนุน ก่อนจะเจาะเข้าสู่ตัวอย่างโครงการวิจัยสังคมศาสตร์เด่นๆ ของสกว. อาธิ […]

WiTThai – s01e04 “ปลดทุก ปลาทู” กับอ.เมธี อ.สมหมาย และอ.วรัณทัต แห่งคณะประมง เกษตรศาสตร์

WiTThai ตอนนี้ไปสัมภาษณ์ผศ.ดร. เมธี แก้วเนิน ผศ. ดร. สมหมาย เจนกิจการ และดร.วรัณทัต ดุลยพฤกษ์ ที่คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนเมษายน 2559 เนื้อหาในตอนว่าด้วยการสำรวจปลาทูในอ่าวไทย เพื่ออัพเดตข้อมูลสำหรับวางนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรทะเลให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ความน่าสนใจของโครงการนี้ยังอยู่ที่การครอบคลุมประเด็นหลากหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านนิเวศวิทยา ชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ กฏหมาย การเมือง จริยธรรม และอื่นๆ นอกจากทำความเข้าใจโครงการวิจัยสำรวจปลาทูแล้ว ผู้ดำเนินรายการยังมีโอกาสได้ซักถามในเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวกับอาหารทะเล เช่น แซลมอนที่เรากินมาจากไหน ปลากระป๋องคือปลาอะไร ฯลฯ และอีกมิติที่รายการตอนนี้ถ่ายทอดออกมาได้ก็คือความเป็นทีมของอาจารย์ทั้งสามคนซึ่งเป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเรียน ทำให้พูดคุยเล่าประสบการณ์ทำงานที่เผชิญร่วมกันมาได้อย่างออกรส อันดับสุดท้าย รายการ WiTThai ตอนนี้เป็นกระบอกเสียงให้คนหันมาสนใจประเด็นด้านทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบทบาทของสกว.ในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ WiTThai ตอนนี้ฟีเจอริ่งโครงการวิจัยของ อ.เมธี แก้วเนิน อ.สมหมาย เจนกิจการ และ อ.วรัณทัต ดุลยพฤกษ์ (คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์) ว่าด้วยการสำรวจปลาทูในอ่าวไทย เพื่ออัพเดทข้อมูลสำหรับวางนโยบายบริหารจัดการ 3 พาร์ทหลักของงาน 1.เก็บข้อมูลภาพดาวเทียม ฤดูกาลและตำแหน่งแพลงตอนพืช แหล่งอาหารของปลาทู 2. ออกเรือเก็บข้อมูลตัวปลาทู […]

WiTThai – s01e03 “เมือกกระเจี๊ยบ” กับอ.จีรเดช และอ.อรัญญา มโนสร้อย

WiTThai ตอนนี้ไปสัมภาษณ์ ศ.ดร.ภก. จีรเดช มโนสร้อย และ ศ.ดร.ภญ. อรัญญา มโนสร้อย ที่ศูนย์วิจัยมาโนเซ่ (manose) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เนื้อหาในตอนกล่าวถึงขั้นตอนการนำสมุนไพรหรือพืชพื้นบ้านมาตรวจหาสรรพคุณทางยาอย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาสารสกัดจากเมือกกระเจี๊ยบเขียวจนกระทั่งสามารถผลิตเป็นน้ำลายเทียมช่วยผู้ป่วยขาดน้ำลายได้ ตลอดจนยังมีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย นอกจากนี้อาจารย์ทั้งสองยังเล่าถึงฐานข้อมูลจากตำรายาล้านนาโบราณที่ได้รวบรวมมาตลอดหลายสิบปี จากนั้นใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคัดกรองสูตรยาที่พบบ่อย เพื่อนำมาผ่านกระบวนการทดสอบและพัฒนาต่อไป นับเป็นจุดพบกันที่มีประสิทธิภาพระหว่างวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาโบราณ ซึ่งน้อยคนจะเคยรับทราบมาก่อน งานวิจัยที่พูดถึงในตอนนี้ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในงานวิจัยเด่นของสกว.ประจำปี 2558   WiTThai ตอนนี้ฟีเจอริ่งผลงานของ อ.จีรเดช มโนสร้อย และ อ.อรัญญา มโนสร้อย ว่าด้วยการพัฒนาน้ำลายเทียมจากสารสกัดเมือกกระเจี๊ยบ   ลิงค์ไปเว็บศูนย์วิจัย Manose ลิงค์ไปข่าวงานวิจัยได้รับรางวัลต่างๆ –1,2,3,4 ลิงค์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เดี๋ยวจะทยอยมาลงเพิ่มนะครับ รูปจากวันที่ไปสัมภาษณ์

1 2 3