Podcast: Play in new window | Download (Duration: 56:45 — 78.0MB)
Subscribe: Google Podcasts | Spotify | RSS | More
กิจกรรม Safe Zone Talk: Safe Therapy อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568
กิจกรรมครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับมุมมองเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญและนักจิตวิทยาในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ

ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณอังคนา อินทสา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล, ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ และ นพ.พงศกร เล็งดี ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต ที่ได้ช่วยเปิดมุมมองถึงผลกระทบที่เกิดจากความรุนแรงที่ส่งผลเสียอย่างลึกซึ้งต่อทุกด้านของชีวิต การป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่การสร้างความตระหนักรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ไปจนถึงการจัดการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ดร.กุลวดี ทองไพบูลย์ นักจิตวิทยาคลินิกอิสระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณฐวัฒน์ ล่องทอง อาจารย์ภาควิชาจิตวิยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นพ.ธิติ ภัคดุรงค์ จิตแพทย์ และ คุณธิติภัทร รวมทรัพย์ นักศิลปะบำบัด HCPC Registered ได้ช่วยเปิดมุมมองของผู้ให้บริการที่ใช้เครื่องมือจากศาสตร์ด้านจิตวิทยา ว่าสำหรับการบำบัดทางจิตวิทยานั้น เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความไว้วางใจ ความเป็นมืออาชีพและความปลอดภัยของผู้รับการบำบัด (Client) เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสำรวจปัญหาและความรู้สึกได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตามการรักษาความปลอดภัยในกระบวนการต้องคำนึงถึงสิ่งที่ “ควรทำ” และ “ไม่ควรทำ” โดยอาจเป็นทั้งจากจรรยาบรรณของผู้ให้บริการและความเหมาะสมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การทำจิตบำบัดที่ดีจะช่วยให้ผู้รับการบำบัดสามารถสำรวจความรู้สึกและปัญหาได้อย่างอิสระ ในสภาพแวดล้อมที่เข้าใจและสนับสนุนพวกเขาอย่างแท้จริง