Podcast: Play in new window | Download (Duration: 1:54:01 — 104.5MB)
Subscribe: Google Podcasts | Spotify | RSS | More
ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก)
วิทย์ไทยตอนนี้ฉีกจากโลกสายวิทย์ไปดูฝั่งสายศิลป์กันบ้างครับ โดยมีโจทย์คือ “จะออกแบบห้องเรียนศิลปะอย่างไร ให้เด็กตาบอดสามารถเรียนร่วมกับเด็กธรรมดาได้อย่างมีความสุข” สื่อการสอนที่อ.สัญชัย และอ.นิธิวดี (คณะสถาปัตย์ ม.ขอนแก่น) คิดค้นขึ้นมา มีผสมผสานทั้งแบบไฮเทค (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) และโลเทค (ปูนปั้น) เรื่องราวเป็นอย่างไร มาฟังกันครับ
วิดิโอประกอบตอน
ภาพบรรยากาศการคุย
อ. สัญชัย สาธิตการใช้โปรแกรมเปลี่ยนสีเป็นเสียง สำหรับให้น.ร.ตาบอดดูรูป Starry Night ประกอบกับการคลำภาพนูนต่ำ เพื่อสัมผัสฝีแปรง
อ. สัญชัยสาธิตโปรแกรมในโหมดวาดรูป
ตัวอย่างผลงานของน้องตาบอดที่มาร่วมใช้โปรแกรมวาดรูปในวิทยานิพนธ์หลักสูตรป.เอกของอ.สัญชัย (สาขาศิลปะการออกแบบ ม.ศิลปากร)
รูปเกี่ยวกับ ร.9 ชื่อผลงาน “การรอคอย” ของน้องต้า
รูปผลงาน “ทะเลหาดทรายท้องฟ้า” ของน้องแอน ครับ : )
อ. หญิง นิธิวดี เข้ามาร่วมถ่ายทอดความในใจเกี่ยวกับปัญหาของหลักสูตรวิชาศิลปะบ้านเรา
อ. ฮั้ว เล่าเรื่องการใช้วีนัส 3 ยุค เป็นตัวแทนในการสอนเรื่องศิลปะยุคต่างๆ
Venus of Willendorf ตัวแทนศิลปะยุคเก่ามาก
Venus de Milo ตัวแทนศิลปะยุคเก่าปานกลาง
ประติมากรรม “ผู้หญิง” ในสไตล์ Henry Moore ตัวแทนศิลปะยุคโมเดิร์น
ตัวอย่างสื่อสอนเรื่องสถาปัตยกรรมที่ทำจากกระดาษ
หลักการคือไม่ต้องการสวยเพอร์เฟ็ค แต่ให้หาวัสดุง่ายตามร้านเครื่องเขียน, ทำซ้ำได้ง่าย, ซ่อมแซมได้ง่าย, แบ่งปันระหว่างโรงเรียนได้ง่าย เพื่อครูศิลปะจะได้ใช้ประโยชน์ได้จริง
อ. ฮั้ว เล่าอย่างแฮปปี้ เรื่องการได้สื่อมวลชนมาช่วยเผยแพร่ผลงานให้คนหมู่มากรู้จักและนำไปใช้ประโยชน์
งานของอาจารย์ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเด่นของสกว.ประจำปี 2559
#WiTThai – s02e04 "Art for the Blind" ศิลปะปิดตาเห็น กับอ.สัญชัย สันติเวส และอ.นิธิวดี ทองป้อง"…
Posted by WiTcast on Saturday, 25 August 2018